เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู Information and Communication Technology for Teachers

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อินเทอร์เน็ต

1.3อินเทอร์เน็ต

     อินเทอร์เน็ตคือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลกโดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ทำให้การเข้าสู่เครือข่ายเป็นไปได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและวุ่นวายจากการเชื่อมต่อจากเครือข่ายทั่วโลก

      อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด



อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ

อินเตร์เน็ตในประเทศไทย

      ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC (Thailand) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน (Domain) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand
กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี (UUNET Technologies) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย “ไทยเน็ต” (THAInet) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “ (Gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย (ปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค (NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)
 ปี พ.ศ.  2535 เช่นกัน เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมีชื่อว่า "เอ็นดับเบิลยูจี" (NWG : NECTEC E-mail Working Group) โดยการดูแลของเนคเทค และได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า "ไทยสาร" (ThaiSarn : Thai Social/Scientific Academic and Research Network) เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยเริ่มแรกประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 8 แห่ง ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ กว่า 30 แห่ง ทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ
  ปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป

ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 
                 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้รวดเร็ว  มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันโดยผ่านสายสื่อสาร  ซึ่งเราเรียกว่า  การเชื่อมต่อแบบเครือข่าย (Network) ถ้าต่อเชื่อมกันใกล้ ๆ ในพื้นที่เดียวกันเรียกว่า LAN (Local Area Network) ถ้าการเชื่อมต่อเครือข่ายทางภูมิศาสตร์ที่ใหญ่ขึ้นกว่า LAN เรียกว่า MAN (Metropolitan Area Network) ถ้าเชื่อมต่อกันไกล ๆเช่น ข้ามประเทศเรียกว่า WAN (Wide Area Network)
การดำเนินธุรกิจในยุคโลกาภิวัฒน์หรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น  ข้อมูลต่าง  ๆ  ขององค์กรมีความสำคัญอย่างมาก  และถือเป็นหนึ่งในทรัพย์สิน
ที่มีค่าที่สุด  และถือเป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่มีค่าที่สุด  สำหรับการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน  ซึ่งผู้บริหารและองค์กรที่เล็งเห็นถึงประโยชน์  จากการใช้เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ชาญฉลาดในการสื่อสารข้อมูลต่าง  ๆ  อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น  ที่จะได้พบความสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  ตลอดจนสามารถสร้างโอกาสให้กับองค์กรให้มีความได้เปรียบในเชิงธุรกิจ  ในยุคเศรษฐกิจแบบโลกาภิวัฒน์ที่มีการแข่งขันกันสูง  และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
การเพิ่มขีดความสามารถและความชาญฉลาดเข้าไปในระบบเครือข่ายอย่างมากมาย  ผลที่ตามมาก็คือ  โครงสร้างพื้นฐานในการสื่อสารที่ได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพสำหรับการสื่อสารทั้งทางด้านเสียง  ภาพและข้อมูลในระบบเครือข่าย  หรือถ้าจะพูดให้ง่ายเข้าก็อาจจะเรียกสั้น  ๆ  ได้ว่าเป็นระบบเครือข่ายสารสนเทศอัจฉริยะ  ซึ่งจะเป็นระบบสารสนเทศที่ประกอบไปด้วยความคล่องตัว 
ปลอดภัย  มีประสิทธิภาพ  และสามารถปรับแต่ง  หรือเพิ่มขยายได้โดยทุกส่วนขององค์ประกอบที่ได้กล่าวมานั้น  สามารถทำงานร่วมกันได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ  ซึ่งในเชิงธุรกิจแล้วนั้นจะมีผลกระทบโดยตรงต่อเป้าหมายขององค์กรธุรกิจ  จากการที่ระบบเครือข่ายสารสนเทศได้เข้ามาผลักดันให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและย่นระยะเวาลาในการดำเนินโครงการต่าง  ๆ 
ซึ่งหมายความว่า  องค์กรนั้น  ๆ  จะสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วตามสภาวะการณ์ของตลาดในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัฒน์ที่ได้ย่นย่อโลกของเราให้เล็กลงอย่างที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน
อินเทอร์เน็ต  (Internet)
เทคโนโลยีเครือข่ายในปัจจุบันได้พิสูจน์แล้วว่า  เป็นแรงผลักดันในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  และช่วยให้การใช้ชีวิตสะดวกง่ายดายยิ่งขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงาน  การเล่น  และการเรียนรู้  สำหรับผู้บริหารที่มองโลกในแง่ดีสักหน่อยก็คงเห็นด้วยว่าการนำเทคโนโลยีด้านเครือข่ายและสารสนเทศมาใช้งานนั้น  สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างมาก  ไม่ว่าจะเป็นองค์กรทางภาครัฐหรือภาคเอกชน  เทคโนโลยีเครือข่ายที่มักจะนำมาใช้นั้นที่เรารู้จักกันอย่างก็คือ  “อินเทอร์เน็ต  (Internet)”
อินเทอร์เน็ต  (Internet) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง  แต่เนื่องจากมีขนาดใหญ่  มีผู้ใช้งานหลายสิบล้านคนกระจายไปทั่วโลก  จึงมีข้อมูลมากมายมหาศาลแลกเปลี่ยนกันในเครือข่าย  สำหรับประเทศไทยนั้น  อินเทอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530 –2535  โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์สถาบันการศึกษาโดยมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเซีย  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า  เจ้าคุณทหารลาดกระบัง  และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นสถาบันแรก  ๆ  แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม  2535  จึงมีการเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์  โดยบริษัทแรกที่เปิดดำเนินการเป็นผู้บริการอินเทอร์เน็ต  ISP  คือบริษัท  KSC  คอมเมอเชียล  อินเทอร์เน็ต  หลังจากนั้นก็มีการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลายและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว  ซึ่งขณะนี้เวิร์ลด์ไวด์เว็บ  (www.)  กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา  อย่างไรก็ตาม  อินเทอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น  เน็ต  (Net)  หรือ  The  Net  ด้วยเช่นเดียวกัน  อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเทอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World–Wide–Web) จริง  ๆ  แล้ว  เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเทอร์เน็ตเท่านั้น  แต่บริการนี้ถือว่าเป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด

บริการต่าง  ๆ  ของอินเตอร์เน็ต
WWW  (World  Wide  Web)  คือ  บริการข่าวสารผ่านทางหน้าเอกสารอินเทอร์เน็ต  (เว็บเพจ)  มีรูปแบบเหมือนกับสื่อสิ่งพิมพ์อื่น  ๆ  เช่น  นิตยสารและหนังสือ  แต่มีข้อดีที่ตัวหนังสือของเว็บเพจสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่น  ๆ  ได้ทำให้การค้นหาข้อมูลทำได้โดยง่าย  และยังสามารถเผยแพร่ข้อมูลได้ทั่วโลกได้ทันทีในราคาถูก  ข้อมูลมีทั้งรูปภาพ  ข้อความ  ภาพเคลื่อนไหว  เสียง  และวีดีโด  ข้อมูลอยู่ในรูป  Interactive  Multimedia
FTP (File Transfer Protocol) คือ บริการไฟล์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เราสามารถนำไฟล์รูปภาพ เสียง ฯลฯ ลงมาเก็บที่เครื่องของเราโดยผ่านโปรแกรมในการเชื่อมต่อหรือผ่านทางอินเตอร์เน็ตก็ได้
E–mail (electronic mail) คือ บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มีความสามารถเหมือนกับจดหมายจริง ๆ แต่ส่งผ่านไปหรือรับทางเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตแทน ทำให้เร็วและประหยัดกว่าการส่งจดหมายแบบเดิม
IRC  (Internet  Relay  Chat)  เป็นแหล่งพูดคุยกันในอินเทอร์เน็ต  สามารถคุยโต้ตอบกันได้ทันที  โยการพิมพ์ข้อความ  โดยผ่านโปรแกรม 
เช่น  Pirch,  ICQ,  Qq–thai  เป็นต้น
ค้นหาข้อมูล  (Search Engine) เนื่องจากข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมีมากมายเราจึงจำเป็นต้องมีการค้นหาเพื่อให้รวดเร็วและสะดวก ประหยัดเวลาด้วย
Home – page ผู้บริหารสามารถทำ Home – page ของบุคคลหรือองค์กรธุรกิจได้ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ธุรกิจให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
                การทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต  (E–Commerce) เป็นการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ต โดยการสร้าง Home–page และใส่รายละเอียดของสินค้าลงไป ถ้ามีผู้สนใจก็สามารถเข้าไปดูรายละเอียดและเจรจาต่อรองหรือสั่งซื้อได้เลย
ปัจจุบันการใช้อินเทอร์เน็ตแพร่หลายใช้ได้สะดวกสบายขึ้น  มีการเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือ  สำหรับผู้บริหารที่ใช้คอมพิวเตอร์พกพา  โน๊ตบุกส์หรือ
แลปท็อป  ก็สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้สายได้ในทุกสถานที่
ในปัจจุบันการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้ในการดำเนินงานมากขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นการปฏิวัติธุรกิจจากการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิมมาเป็นธุรกิจ
แบบอีบิสิเนส  (e – Business) หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในทุกระบวนการของการทำงานในองค์กรธุรกิจทั่วไปและการสร้างประบวนการโต้ตอบและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
ระหว่างองค์กร เช่น การนำระบบการจัดซื้อออนไลน์ (e–Procurement) หมายถึง การจัดซื้อจัดจ้างโดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐระดับกรมหรือระดับกระทรวง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์กับหน่วยงานภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรมการทำธุรกิจ
ออนไลน์ (e-Commerce) เข้ามาใช้ในการติดต่อสัมพันธ์กับเครือข่ายภายนอกองค์กร หรือแม้กระทั่งการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาใช้งานในการสื่อสารภายในองค์กร เช่น การจัดให้มีระบบ Intranet ขึ้นในองค์กรเพื่อใช้ในการแจ้งถึงนโยบายและวิธีการปฏิบัติต่างให้กับพนักงานตลอดจนมีการพัฒนามาใช้ในการฝึกอบรม (e-learning) ภายในองค์กรซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก

            อินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต  (Intranet and Extranet)
เนื่องจากอินเทอร์เน็ตได้รับความสนใจและมีประโยชน์มากสำหรับองค์กรต่าง  ๆ  เพราะสามารถสื่อสารคนจำนวนมากเข้าด้วยกัน  เพื่อเผยแพร่ข้อมูลโดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำถึงแม้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้จะต่างรุ่นต่างแบบกัน  ในอดีตองค์กรหลาย ๆ แห่งเสียค่าใช้จ่ายมหาศาลในการลงทุนกับเทคโนโลยีที่สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในองค์กร  ซึ่งผลที่ได้บางครั้งก็ไม่น่าพอใจ 
ด้วยเหตุที่องค์กรต่าง  ๆ  จึงได้นำเทคโนโลยีอินทราเน็ตเข้ามาใช้  เพื่อเป็นคำตอบสำหรับการสื่อสารข้อมูลภายในองค์กร  โดยใช้เทคโนโลยี
เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
อินทราเน็ต  (Intranet)  หมายถึง เครือข่ายเฉพาะส่วนขององค์กรหรือหน่วยงานที่นำซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์แบบอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ อินทราเน็ตจึงเป็นเครือข่ายเพื่อระบบงานภายใน โดยมุ่งเน้นข้อมูลและสารสนเทศเพื่อบริการแก่บุคลากร โดยมีคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เป็นอินเทอร์เน็ตซอฟต์แวร์เพื่อให้บริการข้อมูลในรูปแบบเดี่ยวกับที่ใช้งานในอินเทอร์เน็ตและขยายเครือข่ายไปทุกแผนก ให้บุคลากรสามารถเรียกค้นข้อมูลและสื่อสารถึงกันได้
ประโยชน์ของอินทราเน็ต
  1. เผยแพร่เอกสารที่ต้องการสื่อสารให้พนักงานทราบทางอินทราเน็ตโดยนำไปใส่ในเว็บ  ซึ่งพนักงานสามารถเปิดดูได้ วิธีนี้สามารถประหยัดกระดาษและลดค่าใช้จ่ายได้มาก
  2. ลดช่องว่างในการประสานงานระหว่างพนักงาน  สามารถนำข้อมูลที่ต้องการให้ทีมงานออกความคิดเห็น  รวบรวมการตอบสนองที่ได้มาประมวลผลได้ทันทีและสามารถสื่อสารความคืบหน้าของงาน  ตามงาน  และนัดเวลาประชุมได้โดย
  3. ผ่านอินทราเน็ต
  4. สามารถเชื่อมต่อระบบอินทราเน็ตกับฐานข้อมูล  พนักงานสามารถค้นหาและสอบถามข้อมูลที่ต้องการได้ในทันที
  5. ลดเวลาในการเรียนรู้  พนักงานใช้อินเทอร์เน็ตเป็นอยู่แล้วไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้  ลดค่าใช้จ่ายในการอบรม


ส่วนเอ็กทราเน็ต  เป็นระบบเครือข่ายที่เกิดจากการประยุกต์ใช้อินทราเน็ต  โดยขยายขอบเขตการใช้เครือข่ายจากภายในไปยังภายนอกองค์กร  ซึ่งในปัจจุบันธุรกิจมักมีเครือข่ายกัน  เช่น  ระหว่างผู้ขายวัตถุดิบกับองค์กร  หรือธุรกิจที่มีสามารถอยู่ห่างไกลกันคนละจังหวัด  เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น